เมทาโดนจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดประเภท 2 มีใช้ตามสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตให้จัดจำหน่ายเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อจากร้ายขายยาทั่วไป และการใช้ยาจะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น เมทาโดนใช้บำบัดรักษาอาการปวดเรื้อรัง และใช้บำบัดอาการในผู้ที่ติดยาเสพติด
จุดเด่นของเมธาโดน อยู่ที่มีดูดซึมได้ดีจากระบบทางเดินอาหาร ออกฤทธิ์นานถึง 24ชั่วโมง เมื่อเทียบกับมอร์ฟีนและเฮโรอีนดูดซึมทางระบบทางเดินอาหารได้ไม่สมบูรณ์ และระยะเวลาออกฤทธิ์สั้น 3-4ชั่วโมง ดังนั้น การให้เมธาโดน เพียงแค่ให้วันละครั้ง จะลดอาการเสี้ยนยาได้ตลอดทั้งวัน และยังนำพาผู้เสพยาให้เข้ามาอยู่ในการดูแล ช่วยลดอันตรายจากสารเสพติด ซึ่งการให้ต่อเนื่องระยะยาวจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเลิกยาเสพติดได้ในที่สุด
รูปแบบที่ใช้ยาน้ำ เช่น อีลิเซอร์(Elixir) น้ำเชื่อม(Syrup) น้ำส้ม(orange juice)
การให้ยาเมทาโดนมี 2 แบบ 1. การให้ยา Methadone program แบ่งเป็นระยะๆดังนี้ • ระยะเริ่มต้น เริ่มน้อยที่สุดเท่าที่สามารถระงับอาการขาดยาได้เท่านั้น ดูจากประวัติของผู้ป่วย ระยะนี้เวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมงแรก • ระยะปรับขนาดยาหลัง 24 ชม. ดูว่าควรเพิ่มหรือไม่จากอาการขาดยา ไม่ควรสูงเกิน 60-80 มก/วัน ระยะปรับขนาดใช้เวลา 1-2วัน สำหรับเฮโรอีน • ระยะคงขนาดยา เมื่อปรับได้พอเหมาะให้คงที่ต่อไประยะหนึ่งจนพ้นอาการขาดยาที่ขึ้นสูงสุด ประมาณวันที่ 3-4 ของการรักษา ส่วนมอร์ฟีน ฝิ่นฉีดประมาณ 7-10 ของการรักษา • ระยะลดขนาดยา ปรับขนาดยาลดตามช่วงเวลาที่กำหนดต้องไม่มีการเพิ่มขนาดของเมทาโดนให้สูงขึ้นไปไม่ว่ากรณีใดๆ • ระยะงดยาต้องงดการให้เมื่อครบกำหนดการถอนพิษ หากมีอาการขาดยาหลงเหลือให้รักษาตามอาการด้วยยาตัวอื่นที่เหมาะสม
2.การให้ยา Methadone Maintenance • ซักประวัติอย่างละเอียด เกณฑ์การพิจารณา ใช้ขนาดสูงและเสพมาหลายปี มีความดื้อต่อยาสูง ใช้วิธีถอนพิษยาหลายครั้งไม่สำเร็จ • เริ่มในปริมาณน้อยก่อน ควรเริ่มขนาด 20-40 มก ในช่วง 1-5วันแรก ค่อยๆเพิ่มตัวยาใน 3-5 วันแรกแต่ละครั้งไม่เกิน 10 มก ใช้เวลาปรับยา 10-21 วัน ค่อยจ่ายคงที่ 80มก/วันภายใน 2-3 สัปดาห์ • ควรตรวจสุขภาพสัปดาห์ละ1ครั้ง จนร่างกายคงที่จึงตรวจห่างทุก1-3เดือนต้องให้ผู้ป่วยเข้าโปรแกรมพฤติกรรมบำบัดรูปแบบต่างๆที่เหมาะสมด้วย การรักษาผู้ที่ติดเฮโรอีน ช่วงแรกแพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยมาพบและกินเมทาโดนทุกวัน เพื่อดูขนาดเมทาโดนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยว่าควรจะเพิ่มหรือลดปริมาณเป็นเท่าใด พอผ่านไปสักระยะ จะอนุญาตให้นำกลับไปรับประทานที่บ้านได้ โดยญาติต้องช่วยดูแลอย่างใกล้ชิดด้วย
ข้อควรระวังการใช้ยา
1. ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาเมทาโดน
2. ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง โรคความดันโลหิตต่ำ โรคหืด โรคลำไส้อุดตัน ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง
3. ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่เคยมีประวัติหรือได้รับบาดเจ็บในบริเวณศีรษะ โรคไตหรือโรคตับ อารมณ์แปรปรวน ตับอ่อนอักเสบ ปัสสาวะขัด โรคต่อมลูกหมากโต
4. ไม่ควรใช้ยากับสตรีตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และเด็ก หากจำเป็นต้องใช้ยาต้องเป็นดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น
5. ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นรับประทาน
6. ห้ามใช้ยาที่หมดอายุ
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.suwitcha.com/harm.ppt